อภินิหาร ปลาร้า ครองพิภพ (Lord of the Plararas)

อธิบายศัพท์
Plarara เป็นคำนาม หมายถึง ปลาร้า ไม่ต้องเสียเวลาค้นคว้าศัพท์คำนี้ ในพจนานุกรมหรอกครับ จ้างให้ก็ไม่เจอ..เพราะมันไม่มี... เนื่องจากเป็นศัพท์ที่เพิ่งคิดขึ้นมาเอง เมื่อครู่นี้เอง ฮา...แล้วจะมีได้อย่างไร หรือถ้า บุญมีเพราะทำกุศลกรรมมาเยอะ ก็อาจเจอ แต่ความหมายไม่ใช่แบบนี้ สรุปว่า ไม่ต้องหา
ปลาร้า คืออะไร
ปลาร้าเป็นสัตว์น้ำ ไม่ใช่สัตว์ปีกหรือสัตว์บก เพราไม่เคยมีใครเห็นปลาร้าบินแข่งนกอยู่ในอากาศ และไม่มีใครเคยเห็นปลาร้าออกมาเดินอยู่แถวสี่แยกหรือข้ามทางม้าลาย จังสันนิฐานอนุมานว่า น่าจะเป็นสัตว์น้ำ
ปลาร้า เป็นสัตว์น้ำจืด หรือสัตว์น้ำเค็ม
เป็นที่ถกเถียงกันมาหลายพันปีแล้ว ตั้งแต่สมัยกรีก โรมัน สมัยราชวงค์เก่าแก่ของจีน ว่า ควรจะจัด ปลาร้า ให้เป็นสัตว์ประเภมไหน น้ำจืดหรือน้ำเค็ม ผู้เชี่ยวชาญด้านปลาร้าบางท่านบอกว่า ปลาร้าควรเป็นสัตว์น้ำจืด เพราะค้นกำเนิดมาจากน้ำจืด เช่น ปลาช่อน(ปลาค่อ) ปลาหมอปลาเข๋ง ปลาซิวอ๊าว ปลาเล็กปลาน้อย
แต่ก็มันักวิชาการที่ศึกษาพฤติกรรมของปลาร้า มาเป็นเวลานาน (ใช้งบประมาณมหาศาล) บางท่าน แย้งว่า ปลาร้าควรเป็นสัตว์น้ำเค็ม เพราะส่วนใหญ่ของชีวิตจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเค็ม และเค็มมากๆด้วย เค็มกว่าน้ำทะเลหลายสิบเท่า จึงควรจัดให่้ป็นสัตว์น้ำเค็ม
จนบัดนี้ ก็ยังหาข้อสรุปร่วมกันไม่ได้ว่า ปลาร้า ควรจะจัดอยู่ในสัตว์ประเภทไหน น้ำจืดหรือน้ำเค็ม แต่ที่แน่ๆ ไม่ใช่สัตว์น้ำหวานแน่นอน เพราะไม่มีใครเคยเห็น ปลาร้าแช่น้ำเชื่อม สรุปว่า จะจัดอะไร แบบไหน ก็ได้ ตามใจแต่ละคน
แหล่งที่อยู่
ปลาร้า ปกติจะอาศัยอยู่ใน ไห เรียกว่า ไหปลาแดก คำว่า แดก เป็นภาษาอิสานนะครับ หมายถึง ปลาร้า ไม่ใช่คำหยาบคาย จะไม่สามารถนำภาชนะอย่างอื่น เช่น โอ่ง กาละมัง กระติกน้ำ ใาใส่ปลาร้าได้ เพราะจะทำให้สูญเสียวิญญาณแห่งความเป็นปลาร้าที่แท้จริง และว่ากันว่า ปลาร้าที่ีมีคุณภาพสูง สามารถเปล่งศักยภาพปลาร้าออกมาได้เต็มที่ จะต้องอาศัยอยู่ในไห อย่างน้อยที่สุด 1 ปี
มีตำนานเล่าถึง "ไฟปลาร้าสุดขอบฟ้า" (Indiana Jores..หรือ อินเดียหน้า โจร)...จะโดนฟ้องไหมนี่....^__^.... ว่ามีไหปลาร้าพันปี อยู่สุดขอบฟ้า ใครได้มารับประทาน จะเพิ่มพูนกำลังว้งชาพลังภายใน กำลังฝีมือรุดหน้า มีชีวิตยาวนาน เป็นยาอายุวัฒนะ
ความมหัศจรรยฺของปลาร้า
ประการแรกคือปลาร้า ยิ่งอยู่ในไหนาน ยิ่งอร่อย (แซ่บหลายๆ) ภาษาอิสานเรียกรสชาติของปลาร้า ว่า "นัว" คำว่า "นัว" เป็นศัพท์มหาคลาสสิก ไม่สามารถหาคำภาษาไดๆ ในโลกนี้ มาอธิบายได้ แต่คนอิสานแท้จริง(ไม่ใช่ลูกครึ่ง) จะรู้ถึงความหมายอันลึกล้ำนี้..
."นัว" จึงเป็นปรัชญาแก่นแท้ของวิถีแห่งรส ที่ไม่อาจเข้าถึงได้ด้วยคำพูดหรือการฝีกปรือ...เมื่อเข้าถึงแล้วก็จะไม่สามารถอธิบายคำว่า "นัว" ให้คนอื่นเข้าใจได้
เหมือนคำว่า "มีแฮง" ที่เป็นความรู้สึกชนิดหนึ่ง ซึ่งลึกซึ้ง สูงส่งจนสุดจะมีภาษาใดมาอธิบายให้ชัดเจนได้ นอกจากเข้าถึงด้วยจิตวิญญาณของคนอิสาน
สรุปว่ายิ่งนาน ยิ่งนัว
และที่ยอดเยี่ยมเทียมฟ้าคือ ไม่ต้องใส่สารกันบูด ให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ต้องใส่ผงชูรส ไม่เน่าไม่เสีย สามารถนำไปบูรณาการอาหารมากมายหลายชนิด
เช่น
ปลาร้าหลน
ปลาร้าบอง
แจ่ว
น้ำพริกปลาร้า
ปลาร้าปิ้ง (ห่อใส่ใบตอง ปิ้งไฟอ่อนๆ หอม อร่อยปางตาย)
ปลาร้าทรงเครื่อง
แต่ที่สุดยอดของยอดคือ นำมาบูรณาการกับ มะละก้า ( MaLaga) ศัพท์ มะละก้า นี่ก็ไม่ต้องไปค้นในพจนานุกรม เพราะตั้งขึ้นมาเอง เหมือนกัน มะละก้า หมายถึง มะละกอ นั่นเอง แต่เพื่อให้เป้นสากล โกอินเตอร์ เลยเรียกว่า มะละก้า นั่นเอง
ปลาร้า + มะละก้า = ส้มตำปลาร้า เป็นสมการแห่งความอร่อยแซบ!
ปลาร้าที่ดีเป็นอย่างไร
ปลาร้าที่ดี มีคุณภาพ ไม่ควรมีหนอนเด็ดขาด ฉะนั้น ใครบอกว่า หนอน เป้นตัวบ่งชี้ ว่า เป็นปลาร้าดี ผิดแน่นอนครับ....ปลาร้าที่ดีไม่ต้องมีหนอน แม้ว่าการมีหนอนจะเพิ่มโปรตีนแก่ปลาร้าก็ตาม เพราะถ้าเก็บรักษาดูแลให้ดี ปลาร้าจะไม่มีหนอน
ปลาร้าที่ดีจะไม่เหม็น... แต่จะหอม ไม่หอมแบบจัดจ้าน แต่จะหอมแบบนุ่มนวลชวนฝัน ปลายโปร่งมีมิติซ้ายขวาขัดเจน รสแหลมสูงแต่ไม่บาดคอ รสต่ำหนักแต่ละมุนอบอุ่นไม่ทึบหม่นมัว กลางโปร่งแยกระดับใกล้ไกลสามารถแยกรายละเอียดของรสได้
ใครคิดปลาร้าเป็นคนแรก
มันเป็นเรื่องยากมากๆๆๆๆๆ ในการค้นว่าใครเป็นผู้คิดปลาร้าเป็นคนแรก แต่ละท้องถิ่นก็มีตำนานเรื่องเล่าของตัวเอง เช่น..
ตำนานบังเอิญ
มีเรื่องเล่าว่า.....ในดินแดนที่ราบสูง.. ..แห้งแล้ง..ชายหนุ่มผู้มุ่งมั่นคนหนึ่ง ไปหาปลาเพื่อเอาไปฝากคนรัก แต่ขณะเดินทางกลับ (ขี่ควาย) เกิดทำข้องปลา หล่น (ข้องคือภาชนะบรรจุปลา) ด้วยความเสียดาย เลยลงไปเก้บปลา แต่ปลาหล่นลงไปในแหล่งดินเค็มที่มีเกลือสินเธาว์ เหลือเลยติดมาด้วย เขาเก็บปลาไว้ในไห (ทำไมเอาไหไปด้วยก็ไม่รู้..)แล้วฝังดินไว้เพราะหนักและขี้เกียจ
ปีต่อมาเขาเดินทางผ่านบริเวณนี้ นึกถึงไหปลาได้ เลยขุดขึ้นมาดูู....โอ....กลายเป็นปลาร้าไปแล้ว
ตำนานเทวดามาบอกสูตร
มีชายคนหนึ่ง ขยันขันแข็ง และเป้นคนดี เทวดา เห้นคุณคาวมดีเลยเหาะลงมาบอกสูตรลับในการทำปลาร้า สุดท้ายชายคนนั้น เลยรู้วิธีการทำปลาร้าจนโด่งดัง
อีกตำนาน...ปลาน้ำจืดเดินทางผิด หลงเข้าไปในแหล่งน้ำเต็ม(เกลือสินเธาว์) แหล่งน้ำโดนแกกจนเข้มข้น ปลาทั้งหมดในแหล่งน้ำเลยกลายเป็นปลาร้า....
สรุปว่า ...ไม่รู้ว่าใครคิดเป็นคนแรกก้แล้วกัน..^__^.....
ปลาร้า เป้นสัญลักษณ์ของภาคอิสาน บอกบ่งถึงจิตวิญญาณขบธรรมเนียมประเพณีคุณค่าธรรมะระดับลึกล่้ำ...ความจริงไม่ว่าคนภาคใด ชาติไหน ก็ทำปลาร้าเป็น แต่ไม่อาจเข้าถึงปรัชญาและจิตวิญญาณที่ลึกล้ำแท้จริงของความเป็นปลาร้าได้เท่าคนอิสาน นอกจากจะพากเพียรเรียนรูุ้ ฝึกฝนจิตสมาธิ ให้บรรลุ แก่นแท้ของความเป็นปลาร้า ไม่ใช่ยึดติดอยู่กับเปลือกนอกแบบฉาบฉวยของปลาร้าเท่านั้น...
สูงสุดยอด คืนสู่ ไหปลาร้า นั่นเอง
ขอบคุณ http://www.rittiya.ac.th/node/442
และที่ผมอยากรู้ว่า ปลาร้าที่มีหนอ กินไปแล้วจะเป็นไรไหม.......