เขียนหัวข้อใหม่
 แสดงความคิดเห็น

TURBO / TURBO TIMER

| หมวดปัญหา-ไขข้อข้องใจ | bt-50
mazdaman
# โพสเมื่อ 12 พ.ค. 2550
® ตอบได้เฉพาะสมาชิก
เข้าชม 5016 (1 ต่อวัน) ตอบ 7 ถูกใจ ถูกใจ 0

TURBO / TURBO TIMER

ความรู้เกี่ยวกับ TURBO และ การดูแลรักษาครับ

พื้นฐานเทอร์โบ.....

เทอร์โบนั้นมีส่วนสำคัญอยู่คือ โข่งไอดี , โข่งไอเสีย , กังหันไอดี , กังหันไอเสีย , เสื้อกลางที่เป็นชิ้นเดียวกับแกนเทอร์โบ สำหรับตัวแกนเทอร์โบจะหมุนด้วยไอเสียจากเครื่องยต์ที่ต่อเข้าไปในโข่งไอเสียและพาให้กังหันไอดีซึ่งอยู่บนแกนเดียวกันหมุนตาม จากนั้นไอเสียก็จะระบายออกทางท่อไอเสีย ส่นกังหันไอดีก็จะหมุนดูดอกาศเข้าไปในโข่งไอดี และอัดเข้าสู่เครื่องยนต์หรือจะผ่านทางอินเตอรืคูลเลอร์ก่อนก็ได้เพื่อลดความร้อน

การใช้ไอเสียที่ไหลออกมาด้วยความเร็วและมีความร้อนมาก สามารถทำให้กังหันไอเสียหรือกังหันไอดี หมุนรอบสูงหลายหมื่อนรอบต่อนาทีหรือบางรุ่นก็หมุนเกินกว่าแสนรอบ เพราะมีทั้งการขยายตัวของความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้และความเร็วของไอเสียที่เกิดจากการดันขึ้นของลูกสูบด้วยเมื่อกังหันไอเสียหมุนเร็ว กังหันไอดีก็จะหมุนเร็วตามไปด้วยทำให้สามารถอัดอากาศเข้ากระบอกสูบได้ปริมาณมากและมีความหนาแน่นกว่าแรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบ เมื่ออากาศเข้าสู่เครื่องยนต์มากขึ้นจึงสามารถเพิ่มการจ่ายน้ำมันมากขึ้น และด้วยส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันที่เหมาะสมทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้นนอกจากเอทร์โบจะเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยต์แล้วยังใช้เพือ่ลดมลพิาของไอเสียด้วยเพราะการอัดอากาศมีความหนาแน่นมากกว่าการดูดอากาศ ช่วยให้เครื่องยนต์ดีเซลเผาไหม้ได้หมดจดมากขึ้น

ว่ากันด้วยเรื่องความร้อน.....

เมื่อกังหันไอเสียต้องถูกไอเสียเป่าผ่านตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน จึงต้องรับความร้อนจากไอเสียและถ่ายเทความร้อนไปยังแกนกลางซึ่งต้องรับภาระทั้งการหมุนรอบจัดและความร้อนสูงแกนที่สอดอยู่กับบูธ แบริ่งหรือลูกปืนจึงจำเป็นต้องมีการหล่อลื่นและระบายความร้อนด้วยน้ำมันเครื่องที่มีการไหลเวียน โดยต่อท่อมาจากระบบหล่อลื่นหลักของเครื่องยนต์จากปั๊มน้ำมันเครื่องแบ่งน้ำมันให้มาไหลผ่านเสื้อแกนกลางและแกนเทอร์โบเพื่อหล่อลื่นและระบายความร้อนจากนั้นจึงไหลลงสู่อ่างน้ำมันเครื่องดังนั้นน้ำมันเครือ่งของเครื่องยนต์เทอร์นั้นจึงมีความสำคัญมากเพราะต้องหล่อลื่นอและระบายความร้อนทั้งเครื่องยนต์และตัวเทอร์โบ จึงควรใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงและมีความหนือที่เหมาะสมและเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดอย่างแน่นอนและย้ำต้องแน่นอน ถ้าใช้น้ำมันสังเคราะห์ยิ่งดีเพราะจะมีฟิล์มน้ำมันที่แข็งแรงกว่าและทนความร้อนได้สูงกว่า รวมทั้งมีคุณภาพดีสม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งาน

ใช้งานให้ทนทานนานวัน.....

เมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ก่อนจะลงมือซิ่งควรจะปล่อยเครื่องยนต์ที่รอบเดินเบาประมาณ 30 วินาทีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แกนเทอร์ดบที่เพิ่งเริ่มหมุนมีน้ำมันเครื่องไหลมาหล่อลื่นอย่างเต็มที่และเพียงพอ เพื่อเตรียมการหมุนที่รอบจัดต่อไป และช่วงแรกที่ขับไม่ควรใช้รอบเครื่องสุงหรือเป็นโรคเท้าขวาหนักเกินไป และเช่นกันก่อนดับเครื่องยนต์ควรปล่อยเดินเบา เอาไว้สักครู่ เพื่อให้แกนเทอร์โบหมุนช้ามีน้ำมันเครื่องไหล ช่วยนำความร้อนออกจากแกนเทอร์โบถ้าดับเครื่องยนต์ทันที ปั๊มน้ำมันเครื่องจะหยุดทำงาน ทำให้น้ำมันเครื่องไม่ไหลเวียนมาที่แกนเทอร์โบแต่จะมีน้ำมันค้างอยู่ที่แกนและเสื้อกลางของเทอร์โบ ซึ่งจะถูกความร้อนของแกนเทอร์โบเผาจนแห้งติดเป็นตะกรันบนแกนและเสื้อกลางเทอร์โบ หรือช่างชอบเรียกว่า "โค้ก" เมื่อสะสมมากขึ้นก็จะทำให้แกนหมุนไม่คล่องหรือตะกรันเสียดสีกับแบริ่งจนเกิดอาการเสียหาย

เดินเบา เดินเบา.....

การเดินเบาของเครื่องยนต์ก่อนการดับเครื่องนั้น ระยะเวลาไม่มีตัวเลขยืนยันว่าต้องนานเท่าไรขึ้นกับความร้อนของเทอร์โบ ระยะเวลานั้นสังเกตุจากลักษณะการขับช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนจอด ถ้าขับคลานมา ใช้รอบต่ำ หรือบนทางโล่ง แต่ใช้ความเร็วไม่สูง เมื่อจอดแล้วสามารถดับเครื่องยนต์ได้ทันที แต่ตรงกันข้ามถ้าขับมาด้วยความเร็วสูงก่อนจะดับเครื่อง ควรเดินเบาไว้ 3-5 นาที

เทอร์โบแบบมีน้ำระบานความร้อน.....

ความร้อนที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากไอเสียมีการเปลี่ยนแหลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตัวเทอร์โบและน้ำมันเครื่องมีอายุสั้นลง ผู้ผลิตบางรายจึงเพิ่มการระบายความร้อนให้กับเทอร์โบด้วยระบบน้ำหล่อเย็น (WATER COOL) โดยออกแบบให้มีช่องน้ำไหลผ่านรอบนอกเสื้อกลาง ส่วนด้านในน้ำมันเครื่องก็จะไหลเวียนเป็นปกติ เพราะต้องมีการหล่อลื่นด้วย โดยน้ำที่ใช้นั้นมักจะดึงมาจากระบบหม้อน้ำปกติ โดยระบบนี้เทอร์โบจะมีความร้อนไม่สูงมากนัก

ติดเครื่องแล้วออกตัวทันที ดีไหมนะ...

หลังเครื่องยนต์ติด 2 วินาที น้ำมันเครื่องก็เริ่มไหลเวียนแล้วแกนเทอร์โบก็จะมีน้ำมันเครื่องไหลเวียนด้วยเช่นกัน แต่ต้องเดินเบาสักพัก เพื่อให้การไหลเวียนของน้ำมันเครื่องทั้งถึง และมีความสมบูรณ์ของการใช้รอบเครื่องสูง

แล้วจอดแล้วดับเครื่องทันทีล่ะ....

ถ้าเดินทางแล้วไม่ใช้รอบจัดมาตลอดมีการขับมาเรื่อยๆ แม้จะขับมาด้วยความเร็วสูงแล้ว แต่ก่อนจะถึงที่ก็ต้องค่อยๆขับมาเพราะการจราจร ความร้อนที่สะสมก็จะลดลงแล้ว การดับเครื่องทันทีก็สามารถทำได้

ทีนี้เจ้าตัว TURBO TIMER.....

เป็นอุปกรณ์เพือ่ทำหน้าที่ตั้งเวลาดับเครื่องยนต์ ไม่ต้องเสียเวลารอเครื่องยนต์เดินเบา สามารถถอดกุญแจออกได้เลย เมื่อถึงเวลาที่ตั้งเครื่องยนต์ก็จะดับเอง ความละเอียดในการตั้งเวลาขึ้นอยู่กับลูกเล่นของแต่ละยี่ห้อ และวันนี้เทอร์โบไทม์เมอร์ก็ยังเพิ่ความสามารถให้เพิ่มขึ้น เช่นการจับเวลา เป็นมาตรวัความเร็ว มาตรวัดกระแสไฟในแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่เจ้าตัวนี้นั้นจะเป็นของต่างประเทศ ราคาประมาณ 2000-6000 ของเซียงกงก็ประมาณ 1000 ขึ้นไป ของไทยทำก็มี ราคาประมาณ 2000-3000

แล้วจำเป็นไหมที่จะต้องติด.....

ถ้าขับมาหนักๆ ซิ่งมาแรง เร็ว ต้องเดินเบาเครื่อง ถ้ารอไหว 3-5 นาที ก็ไม่ต้องซื้อมาติด แต่ถ้ารอไม่ไหว ก็ต้องไขว่คว้ามาครับ

สับสน......

บางท่านยังเข้าใจผิดว่าในรอบเดินเบาเทอร์โบจะหยุดหมุนซึ่งจริงๆแล้วเจ้าหอยพิษจะหมุนตั้งแต่เริ่มติดเครื่องแล้ว ดังนั้นการเดินเบาก็เพื่อระบายความร้อน ไม่ใช่เพื่อรอให้แกนเทอร์โบหยุดหมุนครับท่าน..บางท่าคิดว่าถ้าเครื่องยนต์ติดอินเตอร์คูลเลอร์แล้วไม่ต้องเดินเบา ขอบอกว่าระบบทั้ง 2 ตัวนี้ แยกการทำงานกันเพราะอินเตอร์ฯจะลดอุณหภูมิของไอดีก่อนเข้ากระบอกสูบความร้อนที่เกิดมาจากการบีบอัดอากาศของกังหันไอดีตัวเทอร์โบไทม์เมอร์นั้นติดตั้งไม่ยุ่งยาก ขนาดก็เล็ก รูปทรงสวย เลือกได้ตามน้ำหนักกระเป๋า ถ้าเลือกติดได้โดยไม่เดือดร้อน ก็หามาติดกันเถอะครับ กระผม...

(เอื้อเฟื้อข้อมูลโดย ThaiDriver .com ขอบคุณ คุณวรพล สิงห์เขียวพงษ ์ ครับ)

ติดตาม อัพเดตข่าวสาร BT+RG คลิ้กที่นี่

สมาชิกที่เข้าชมล่าสุด

มาดูโลกหุ่นกันเถอะ ได้ทั้งขำ และความรู้  

1
ตาอ้วน
# โพสเมื่อ 3 ธ.ค. 2550
® ตอบได้เฉพาะสมาชิก
ตอบ ตอบ 0 ถูกใจ ถูกใจ 0
มีสาระดีครับ ขอบคุณมากครับผม
พันฤทธิ์
# โพสเมื่อ 31 ก.ค. 2551
® ตอบได้เฉพาะสมาชิก
ตอบ ตอบ 0 ถูกใจ ถูกใจ 0
งั้นก็ควรจะไปติดเทอโบไทม์เมอร์กันได้เเล้วนะ รู้สึกจำเป็นยังไงไม่รู้

ขอบคุณครับ
Ra
# โพสเมื่อ 11 ส.ค. 2551
® ตอบได้เฉพาะสมาชิก
ตอบ ตอบ 0 ถูกใจ ถูกใจ 0
ความรู้ล้วน ๆ เยี่ยมคับ
นายลี
# โพสเมื่อ 7 พ.ค. 2553
® ตอบได้เฉพาะสมาชิก
ตอบ ตอบ 0 ถูกใจ ถูกใจ 0
ขอบคุณที่แบ่งปันความรู้ครับ
1

แสดงความคิดเห็น



แสดงความคิดเห็นเหรอ
ลงชื่อเข้าใช้หน่อยจ้า ด้วย Facebook ก็ได้ ง่ายๆเอง





Home